พระนิรันตราย รุ่น อุดมมงคล ครบ 7 รอบ นักษัตร วัดเขมาภิรตาราม | ALL Online
ช้อป All Online ผ่าน 7App
โปรเด็ด สินค้าโดนใจ ห้างใกล้บ้าน
โหลดฟรี
Special Coupon (24 May - 23 June 25)

พระนิรันตราย รุ่น “อุดมมงคล” ครบ 7 รอบ นักษัตร วัดเขมาภิรตาราม (42 สินค้า)

แสดง  30 60 90
  • 1
ล๊อกเก็ตพระนิรันตราย ลงยาสีแดง - วัดเขมาภิรตาราม นนทบุรี, พระนิรันตราย รุ่น “อุดมมงคล” ครบ 7 รอบ นักษัตร วัดเขมาภิรตาราม
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
ล๊อกเก็ตพระนิรันตราย ลงยาสีแดง
฿ 500
ล๊อกเก็ตพระนิรันตราย ลงยาสีเหลือง - วัดเขมาภิรตาราม นนทบุรี, พระนิรันตราย รุ่น “อุดมมงคล” ครบ 7 รอบ นักษัตร วัดเขมาภิรตาราม
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
ล๊อกเก็ตพระนิรันตราย ลงยาสีเหลือง
฿ 500
ล๊อกเก็ตพระนิรันตราย ลงยาสีชมพู - วัดเขมาภิรตาราม นนทบุรี, พระนิรันตราย รุ่น “อุดมมงคล” ครบ 7 รอบ นักษัตร วัดเขมาภิรตาราม
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
ล๊อกเก็ตพระนิรันตราย ลงยาสีชมพู
฿ 500
ล๊อกเก็ตพระนิรันตราย ลงยาสีเขียว - วัดเขมาภิรตาราม นนทบุรี, พระนิรันตราย รุ่น “อุดมมงคล” ครบ 7 รอบ นักษัตร วัดเขมาภิรตาราม
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
ล๊อกเก็ตพระนิรันตราย ลงยาสีเขียว
฿ 500
ล๊อกเก็ตพระนิรันตราย ลงยาสีส้ม - วัดเขมาภิรตาราม นนทบุรี, พระนิรันตราย รุ่น “อุดมมงคล” ครบ 7 รอบ นักษัตร วัดเขมาภิรตาราม
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
ล๊อกเก็ตพระนิรันตราย ลงยาสีส้ม
฿ 500
ล๊อกเก็ตพระนิรันตราย ลงยาสีฟ้า - วัดเขมาภิรตาราม นนทบุรี, พระนิรันตราย รุ่น “อุดมมงคล” ครบ 7 รอบ นักษัตร วัดเขมาภิรตาราม
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
ล๊อกเก็ตพระนิรันตราย ลงยาสีฟ้า
฿ 500
แสดง  30 60 90
  • 1
พระนิรันตราย รุ่น “อุดมมงคล” ครบ 7 รอบ นักษัตร วัดเขมาภิรตาราม
พระนิรันตราย
 เป็นพระพุทธรูปโบราณสององค์ซ้อนกัน องค์ใน ในตำนานพระพุทธรูปสำคัญ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวว่า เป็นพระพุทธรูปที่กำนันอินและนายยังบุตรชาย ขุดพบเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2399 ที่ชายป่าแขวงเมืองปราจีนบุรี ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณสามเส้น (ปัจจุบันคือโบราณสถานหมายเลข ๓ ซึ่งเรียกว่าเนินภูเขาทองในเขตโบราณสถานศรีมโหสถ) ในขณะที่กำลังขุดมันนกกันอยู่ โดยก่อนหน้านั้น ฝันว่าจับช้างเผือกได้เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำเนื้อหก น้ำหนักเจ็ดตำลึงสิบเอ็ดสลึง พุทธศิลปะแบบทวารวดี จึงให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พาเข้ามา ณ กรุงเทพฯ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในวันพระฤกษ์เฉลิมพระราชมณเฑียรสีตลาภิรมย์

แต่ใน ร่างสารตราเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นเอกสารชั้นต้น เมื่อปี 2399 กล่าวว่า นายปัน กับ นายอิน สองพ่อลูก ไปขุดร่อนทองที่ดงศรีมหาโพธิ์แล้วเจอพระทองคำ และได้นำไปให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์จึงบอกกรมการและพระยาวิเศษฤๅไชยเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา กรมการเมืองฉะเชิงเทราทั้งหลายจึงพร้อมใจกันทูลเกล้าฯถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้นพระองค์ก็ได้สอบถามที่ไปที่มาและได้พระราชทานเงินตรากับกรมการเมือง และพ่อลูกไปแบ่งกัน จึงสันนิฐานน่าจะเป็นตามที่ร่างสารตราเมืองฉะเชิงเทรากล่าวไว้มากกว่า

ภายหลัง โปรดเกล้าฯ ให้เชิญมาประดิษฐานที่หอเสถียรธรรมปริต หลังจากนั้นได้มีขโมยมาขโมยของ ซึ่งขโมยหยิบพระกริ่งทองคำไป แต่พระทองคำองค์นี้ ขโมยไม่หยิบไปด้วย เรื่องทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามใหม่ให้ว่า "พระนิรันตราย" และโปรดเกล้าฯ ให้ หล่อองค์ใหม่ครอบองค์เดิมมาจนถึงทุกวันนี้

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “พระนิรันตราย” อีก 18 องค์สำหรับพระราชทานถวายพระอารามแห่งธรรมยุติกนิกาย 18 พระอาราม เท่าจำนวนปีที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติ แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อน การนี้สำเร็จตามพระราชประสงค์ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะพิเศษของพระนิรันตรายสำรับนี้ คือ มีส่วนที่เพิ่มเติมจากพระนิรันตรายองค์เดิม ได้แก่ ซุ้มเรือนแก้ว ทำเป็นพุ่มพระศรีมหาโพธิ์ประกอบ ยอดซุ้มประดับลายพระมหามงกุฎ และจารึกบท “อิติปิโส ภควา” 9 วรรค เป็นอักษรขอมประดับตามซุ้ม ส่วนฐานประดับรูปโค เจาะรูบริเวณปากโค น้ำสรงพระนิรันตรายจะไหลออกทางปากโค

วัดในกรุงเทพฯที่สามารถพบพระนิรันตรายในพระอุโบสถหน้าพระประธาน เช่น วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร วัดเขมาภิรตาราม