พระกริ่งพระชัยวัฒน์ ชุดพิเศษนำฤกษ์ รุ่นฉลองสมโภชน์วัดยายร่ม 190 ปี เนื้อทองแดง | AllOnline
ช้อป All Online ผ่าน 7App
โปรเด็ด สินค้าโดนใจ ห้างใกล้บ้าน
โหลดฟรี
Special Coupon (24 Apr - 23 May 25)

พระกริ่งพระชัยวัฒน์ ชุดพิเศษนำฤกษ์ รุ่นฉลองสมโภชน์วัดยายร่ม 190 ปี เนื้อทองแดง


รหัสสินค้า  453944010
false
false
false
false
true
true

พระกริ่งพระชัยวัฒน์ ชุดพิเศษนำฤกษ์ รุ่นฉลองสมโภชน์วัดยายร่ม 190 ปี เนื้อทองแดง

รหัสสินค้า 453944010

คุ้มกว่า

รับ ALL POINT ทุกการช้อป

  • ตามความเชื่อโบราณนิยมนำพระกริ่งอธิษฐานแช่น้ำทำเป็นน้ำพระพุทธมนต์ ใช้ดื่มหรืออาบเพื่อเป็นสิริมงคล
  • ชนวนมวลสารเก่าหลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่ผล หลวงตาช้วน วัดหนังราชวรวิหาร
  • เพื่อสมทบทุนสร้างเสนาสนะวัดยายร่ม เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 
  • พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดยายร่ม โดยพระเถราจารย์หลายรูปร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต
฿ 2,500

ใช้ได้ตั้งแต่  09/07/2021 - 01/05/2025
รวมยอดของ
- +
มีสินค้าในสต๊อก
สินค้านี้จำกัดจำนวนในการสั่งซื้อ

การจัดส่ง

จัดส่งฟรีเซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน
ฟรี
จัดส่งตามที่อยู่ รับสินค้าภายใน 2 - 5 วันทำการ หลังชำระเงิน

สินค้าใกล้เคียง

ขนาดสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์ (ก x ย x ส) 6 x 8 x 3.5 ซม.
น้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ 0.02

พระกริ่งพระชัยวัฒน์ ชุดพิเศษนำฤกษ์ รุ่นฉลองสมโภชน์วัดยายร่ม 190 ปี เนื้อทองแดง

พระเกจิ : พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดยายร่ม โดยพระเถราจารย์หลายรูป

ชื่อวัด : วัดยายร่ม ถนนพระราม2 ซอย33 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 

พุทธคุณ : ตามความเชื่อโบราณนิยมนำพระกริ่งอธิษฐานแช่น้ำทำเป็นน้ำพระพุทธมนต์ ใช้ดื่มหรืออาบเพื่อเป็นสิริมงคล

เนื้อวัตถุมงคล : ทองแดง

น้ำหนักวัตถุมงคล : 0.02 กก.

 

รายละเอียดโครงการวัตถุมงคล

พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ชุดพิเศษนำฤกษ์ รุ่นฉลองสมโภชน์วัดยายร่ม 190 ปี เนื้อทองแดง

ประวัติพระกริ่ง

การสร้างพระกริ่งเริ่มต้นที่ทิเบตและจีน จึงเรียกพระกริ่งทิเบตและพระกริ่งหนองแส ต่อมานิยมสร้างในเขมร เรียกว่า พระกริ่งอุบาเก็ง หรือพระกริ่งพนมบาเก็ง

และพระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์ พบว่าขอมได้สร้างพระกริ่งปทุมขึ้นอย่างแพร่หลายทุกยุคในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพื่ออุทิศบูชาแด่พระพุทธไภษัชยคุรุ

ซึ่งได้มีการสร้างขึ้นมาตั้งแต่ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ภายหลังแพร่หลายในหมู่ชาวไทย ลาว สำหรับประเทศไทย การสร้างพระกริ่งปรากฏเป็นหลักฐาน

ก่อนยุครัตนโกสินทร์ บ้างว่า สมัยกรุงศรีอยุธยา บ้างว่าตั้งแต่สมัยสุโขทัย

พระกริ่งนิยมมีการบรรจุเม็ดกริ่งเป็นเม็ดโลหะเล็ก ๆ ไว้ภายในองค์พระ เพื่อเขย่าแล้วเกิดเสียงเวลาสวดมนต์ขอพรจากพระพุทธองค์ พระกริ่งมี 3 ขนาด คือ 

1. ขนาดใหญ่ สำหรับบูชาประจำบ้าน 

2. ขนาดเล็ก สำหรับทำน้ำมนต์และบูชาห้อยติดตัว 

3. ขนาดจิ๋วสำหรับบูชาติดตัว นิยมเรียกว่า พระชัยหรือพระชัยวัฒน์ 

นิยมสร้างนวโลหะ หรือโลหะทั้ง 9 ชนิด คือ ทองคำ เงิน ทองแดง พลวง ดีบุก สังกะสี ชิน ปรอท เจ้าน้ำเงิน ตามตำราของโบราณาจารย์

 

คาถาบูชาพระกริ่ง การบูชาพระกริ่งก็คือการบูชาต่อพระไภสัชย คุรุพุทธะ ในไภสัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตสูตรความ ว่า 

”นะโม ภควเต ไภสัชยคุรุ ไวฑูรยประภา ราชัยยะ ตถาคตยะ อรหเต สัมยักสัมพุทธายะ ตัทยถา โอม ไภสัชเย ไภสัชเย ไภสัชเย สมุทกเต สวาหะ”

 

พระคาถาบูชาพระชัยวัฒน์ (ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วท่องพระคาถา)

“อะสี สะติ พะหู เตวะ อาวุ ธานิ ภัคคะ ภัคคา มิจุลลานิ โลมังม เม นะ พุท สัน ติ” ตามด้วยอธิษฐานสิ่งที่ท่านปรารถนา

 

ประวัติวัดยายร่ม

   วัดยายร่ม เป็นวัดเก่าแก่อายุเกือบสองร้อยปีที่ นางร่ม ชาวบางมด ได้ริเริ่มสร้างขึ้นมาให้ชาวบ้านย่านบางมด

ได้ใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญบุญ ปฏิบัติศาสนกิจตามวิถีชีวิตอย่างชาวพุทธ

นับตั้งแต่สร้างวัดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2365 จนถึงปัจจุบัน วัดแห่งนี้มีอายุกว่า 180 ปี สร้างอุโบสถมาแล้ว 3 หลัง

พระครูโสภิตบุญญาทร เจ้าอาวาสวัดยายร่ม แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ กล่าวว่า

จากคำบอกเล่าของญาติโยมผู้สูงอายุชาวบางมด ผู้ใกล้ชิดกับวัดยายร่ม เล่าให้ฟังว่าได้รับการถ่ายทอดจากปู่ย่าตายาย 

อุโบสถหลังแรกของวัดยายร่ม เป็นอุโบสถที่สร้างด้วยไม้ หลังไม่ใหญ่นัก

มีพระพุทธรูปองค์เล็ก หน้าตักประมาณ 19 นิ้ว เป็นพระประธานในอุโบสถ 

ซึ่งปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี แถวหน้าด้านขวาสุดของพระประธานในอุโบสถวัดยายร่ม

นอกจากโบสถ์แล้วก็มีศาลาการเปรียญหนึ่งหลังและกุฏิอีกหนึ่งหลัง 

 

วัดยายร่มหลวงพ่อมนัส

 

ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณปี พ.ศ.2478 มีเอกสารอ้างอิงประวัติความเป็นมาของวัด

ที่พอจะค้นหาได้คือหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน 

พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งกรมศิลปากรจัดพิมพ์ขึ้น

เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2509 หน้า 416-417(รุ่นใหม่ 440-441) เรื่องวิสาขบูชา มีเนื้อความว่า

"แต่วัดที่ออกชื่อมาแล้ว 66 วัด วัดนี้ไม่ได้อยู่เองคงจะเพิ่มเติมขึ้นตามที่สร้างใหม่อย่างเทียนพรรษา แต่วัดจุฬามณีวัดหนึ่ง

ซึ่งมีชื่อมาข้างบนไม่รู้จักว่าวัดใด ได้สอบถามทั้งพระคฤหัสถ์หลายแห่งก็ไม่ได้ความ 

ไล่ไปมาก็เวียนลงวัดจุฬามณีกรุงเก่าเสียบ้าง ได้เค้าแล้วเลือนหายไป

ภายหลังเมื่อทำหนังสือแล้วกรมหมื่นประจักษ์ให้ปลัดวังขวาไปสืบตามเค้าที่สังเกตในบัญชีว่าเหมือนหนึ่งจะเป็นฝ่ายตะวันตก 

ไปได้ความจากนายเกดตำรวจวังหน้า อายุ 78 ปี อำแดงปาน อายุ 77 ปี ซึ่งอยู่ในคลองบางมด

แจ้งความว่า คือวัดที่ราษฎรเรียกชื่อว่า "วัดยายร่ม" ในคลองบางมดนั่นเอง เป็นวัดจุฬามณี 

ว่าเดิมทียายร่มเป็นผู้สร้าง มีโบสถ์ผ่ากระดานหลังหนึ่ง ศาลาการเปรียญหลังหนึ่ง

และกุฏิหลังหนึ่ง" พุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไปที่ได้ไปเยี่ยมชมวัดยายร่มจะต้องทึ่งกับโบสถ์ไม้สักขนาดใหญ่ 

แกะสลักสถาปัตยกรรมไทยเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาและวรรณคดีให้ได้ชมและค้นคว้าศึกษาหาความรู้ 

ประกอบด้วย รูปพุทธประวัติ 32 รูป, รูปพระเวสสันดรชาดก 14 รูป, รูปพระเจ้า 10 ชาติ 10 รูป, รูปรามเกียรติ์ 20 รูป,

สลักประตู หน้าต่าง 14 ภาพ, พระมาลัย 14 ภาพ, พาหุง พระพุทธเจ้าชนะมาร 8 ภาพ, ภาพปริศนาธรรมโดยพุทธทาสภิกขุ

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่หน้าพระประธานภายในอุโบสถ "หลวงพ่อพุ่ม" 

ซึ่งเป็นปูชนียวัตถุโบราณที่มีชื่อเสียง เป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้าน

พุทธลักษณะปางสมาธิหน้าตักกว้าง 31 นิ้ว สูง 48 นิ้ว พระพุทธรูปองค์นี้เป็นการตั้งตามนามของผู้อุปถัมภ์วัดยายร่ม

แต่ไม่ใช่เป็นพระประธานในโบสถ์ เป็นองค์ที่รองมาจากพระประธาน เนื้อจะหล่อด้วยสัมฤทธิ์

มีประชาชนมาปิดทองไว้เต็มไปหมดทั้งองค์พระ จนมีความหนาเนื้อนุ่มนิ่มไปทั้งองค์พระ 

เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนทั่วไปรู้จักกันดี มีผู้เคารพศรัทธาเป็นจำนวนมาก ไม่แต่เฉพาะท้องถิ่นเท่านั้น

 

พิธีพุทธาพิเษก

พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดยายร่ม โดยพระเถราจารย์หลายรูป

 

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

เพื่อสมทบทุนสร้างเสนาสนะวัดยายร่ม เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 

 

ดำเนินการจัดสร้างโดย

วัดยายร่ม ถนนพระราม2 ซอย33 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 

 

หมายเหตุ

1.พระแต่ละองค์อาจแตกต่างจากภาพ เนื่องจากเป็นพระเก่าที่สะสมไว้อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน

2.ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนวัตถุมงคล และกรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุมงคลก่อนออกจากร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น

3.วัตถุมงคลอาจมีคราบดำ มีรูหรือรอยต่างๆที่เกิดจากกรรมวิธีการสร้าง หน้าตาอาจไม่คมชัด ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระแต่ละองค์ ทางวัดขออนุโมทนาในการร่วมสร้างบุญมา ณ โอกาสนี้

ความเห็นของลูกค้า (จากทั้งหมด 0 คน)
ภาพรวมความพึงพอใจ
0
0
0
0
0
ความเห็นของลูกค้าเฉลี่ย
ยอดรวม  ยังไม่มีการประเมิน